ภาพสไลด์

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[MV] พลพล - กอดหน่อยได้ไหม (HD)

[MV]จากนี้ไปจนนิรันดร์-เอ๊ะ จิรากร official

[MV]ไม่มีตรงกลาง - Project Love Pill จิรากร(official)

วันเอดส์โลก

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโรคเอดส์มากที่สุด

ดังนั้น จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก หรือ World AIDS Day ซึ่งเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์ และการเจ็บป่วยจากโรคเอดส์

เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุน ให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ

เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอดส์

เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


สัญญาลักษณ์วันเอดส์โลก

โรคหนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU)

โรคหนองในเทียมหมายถึงการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมได้แก่



Chlamydia trachomatis
Ureaplasma urealyticum 10-40%
Trichomonas vaginalis (rare)
Herpes simplex virus (rare)
Adenovirus
Haemophilus vaginalis
Mycoplasm genitalium
เชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis

เราได้รับเชื้อหนองในเทียมได้อย่างไร

คนติดเชื้อหนองในเทียมจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางทวาร ปาก หรือทางช่องคลอด นอกจากนั้นก็มีโรคที่ทำให้เกิดหนองในเทียมเช่น

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การอักเสบของต่อมลูกหมาก
ท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture
การอักเสบของหนังหุ้มอวัยวะเพศ
การใส่สายสวนปัสสาวะ
อาการของผู้ที่เป็นหนองในเทียม

ผู้ชาย

หนองไหลออกจากอวัยวะเพศ
ปวดแสบร้อนเวลาปัสสาวะ
คันหรือระคายเคืองท่อปัสสาวะ
ปวดหน่วงบริเวณอวัยวะเพศ
ผู้หญิง

ตกขาว
ปัสสาวะขัด
ปวดท้องน้อย มีเลือดออกขณะร่วมเพศ
การวินิจฉัยโรคต้องทำอย่างไร

การวินิจฉัยทำโดยการน้ำหนองหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรืออวัยวะเพศมาเพาะเชื้อ หรือส่องกล้องตรวจ
เมื่อย้อมจะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 5 เซลล์
การป้องกัน

วิธีดีที่สุดคือการงดเพศสัมพันธ์
ใช้ถุงยางอนามัย
มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
หากต้องการมีคู่นอนคนใหม่ต้องตรวจเช็คก่อนทุกครั้ง
หากคุณเป็นโรคหนองในเทียมให้งดการมีเพศสัมพันธ์
ให้รักษาทั้งตัวคุณเองและคู่ครอง
การรักษา

ยาที่ใช้ในการรักษามี Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว
หรืิอ Doxycycline 100 mgรับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7วัน
ยาที่เป็นตัวเลือกอื่น Erythromycin 500 mg รับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
หรือ Ofloxacin 300 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นเรื้อรังหรือรักษาไม่หายให้ใช้ยา Metronidazole 2 g รับประทานครั้งเดียวและ Erythromycin 500 mg รับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

หากท่านเป็นโรคหนองในเทียมโดยที่มีหรือไม่มีอาการแล้วไม่ได้รักษาท่านอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ

ในผู้ชาย

การอักเสบของอัณฑะ Epididymitis ซึ่งหากไม่รักษาอาจจะทำให้เป็นหมัน
ข้ออักเสบ Reiter's syndrome (arthritis)
เยื่อบุตาอักเสบ Conjunctivitis
ผื่นที่ผิวหนัง Skin lesions
หนองไหล Discharge
ในผู้หญิง

อุ้งเชิงกรานอักเสบPelvic Inflammatory Disease (PID)ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง Recurrent PID ซึ่งอาจจะทำให้เป็นหมัน
ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis
ช่องคลอดอักเสบ Vaginitis
แท้ง Spontaneous abortion (miscarriage)

ฝีมะม่วง LYMPHOGRANULOMA VENEREUM (LGV)

ฝีมะม่วงหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากเชื้อ ผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวมซึ่งพบได้บ่อยโรคนี้เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis ผู้ป่วยอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นแผลที่อวัยวะเพศ



การวินิจฉัย

ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต กดเจ็บและตรวจไม่พบหลักฐานว่าเป็นโรค เริม ซิฟิลิส หรืแผลริมอ่อน ให้สงสัยว่าเป็นโรคนี้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจหาภูมิ

การรักษา

ยาที่ใช้รักษาได้แก่ Doxycyclin 100mg เช้า-เย็นเป็นเวลา 21 วัน หรือ erythromycin 500 mg วันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 21 วัน

โรคไวรัสตับอักเสบ

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ปกติจะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม โดยอยู่หลังกระบังลม

หน้าที่ของตับ

เป็นคลังสะสมอาหาร เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน เอาไว้ใช้ และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
สังเคราะห์สารต่างๆ เช่น น้ำดี สารควบคุมการแข็งตัวของเลือด ฮอร์โมน
กำจัดสารพิษ และสิ่งแปลกปลอม เช่นเชื้อโรค หรือยา อ่านการทำงานของตับ
โรคตับชนิดต่างๆ

ตับมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง [cirrhosis] มะเร็งตับ [liver cancer] โรคไขมันในตับ [fatty liver] โรคฝีในตับ [liver abscess]

โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด

โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก
chronic active hepatitis.มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง
สาเหตุของโรคตับอักเสบ

เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,บ,ซี,ดี,อี
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย
การอักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง

ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด

ไวรัสตับอักเสบ เอ
ไวรัสตับอักเสบ บี
ไวรัสตับอักเสบ ซี
ไวรัสตับอักเสบ ดี
ไวรัสตับอักเสบ อี
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ



ผู้ป่วยดีซ่านตาขาวและผิวจะมีสีเหลือง

ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ
หากสงสัยว่าจะเป็นโรคตับอักเสบท่านควรไปรับการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดย

ตรวจการทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน การแปรผลเลือด
การตรวจหาตัวเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่ Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค
การรักษา

การเลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin

การปฏิบัติตัว

หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น
ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่

ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี จะหายขาด ไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90 หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี และ ดี ยังไม่มีข้อมูล

พาหะของโรคจะทำอย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกาย แต่ไมแสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และต้องมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆ ผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับเชื้อ บี และ ซี เท่านั้น

ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร

บุตรที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีจะมีโอกาสติดเชื้อได้สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แม่สามารถให้นมบุตรได้